สมาชิก login
ชื่อ:
รหัส:
 ค้นหารถโดยใช้รหัสรถยนต์

< คลิกวิธีดูรหัส

 ค้นหารถมือสอง
ประเภท:
ยี่ห้อ:
รุ่น:
แบบ:
สี:
ปี:
ช่วง:
ราคา:

 รถมือสองทั้งหมด
รวมรถมือสอง TOYOTA TOYOTA


แบตเตอรี่รถยนต์ไม่ใช่แค่ถ่านไฟฉาย
     

บตเตอรี่รถยนต์ไม่ใช่แค่ถ่านไฟฉาย

แบตเตอรี่รถยนต์ไม่ใช่แหล่งผลิตไฟฟ้า แต่เป็นเพียงไฟฟ้าสำรอง เลือกไม่ยุ่ง ดูแลไม่ยากและไม่แพง แต่มีรายละเอียดไม่น้อย

แบตเตอรี่รถยนต์ไม่เหมือนถ่านไฟฉาย ไม่เหมือนถ่านแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือ (ที่มีแต่การใช้ไฟฟ้าออกไปอย่างเดียว เมื่อหมดแล้วก็ต้องเปลี่ยนทิ้ง)โดยเป็นเพียงไฟฟ้าสำร อง เมื่อเครื่องยนต์ติดและถูกใช้งาน ก็จะมีการประจุไฟฟ้าเพิ่ม และถูกใช้งานออกไปหมุนเวียนกัน เติมประจุไฟฟ้าเข้า-ออกจากแบตเตอรี่อยู่เสมอ มิได้ใช้ออกตลอดเวลาจนกว่าไฟจะหมด

ในกรณีที่แบตเตอรี่หมดต้องนับว่าเป็นความผิดปกติ ไม่ใช่หมดแบบถ่านไฟฉายทั่วไป
มี 2 กรณี คือ หมดเพราะเก็บไฟไม่อยู่-แบตเตอรี่หมดอายุ (หลังใช้แบตเตอรี่ไป 1.5 - 3 ปี) หรือระบบไดชาร์จบกพร่อง

รถยนต์ที่ใช้งานแบตเตอรี่ยังไม่หมด สภาพและระบบไดชาร์จปกติ แบตเตอรี่ไม่มีการหมดโดยมีการประจุและใช้ไฟฟ้าหมุนเวียนกันตลอด แบตเตอรี่มีการใช้ไฟออกอย่างเดียวเฉพาะช่วง สตาร์ทเครื่องยนต์ ที่มีการจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ไดสตาร์ทและระบบต่าง ๆ ของเครื่องยนต์ เมื่อเครื่องยนต์ทำงานแล้ว ไดชาร์จ (หรือยุคใหม่เป็นอัลเตอร์เนเตอร์ แต่ก็ยังเรียกรวมว่าไดชาร์จ) ก็จะทำหน้าที่ประจุไฟฟ้าเข้าแบตเตอรี่อย่างต่อเนื่อง โดยมีคัตเอาต์ (ทั้งแบบแยกหรือแบบรวมกับตัวไดชาร์จ) ทำหน้าที่ควบคุมการตัดการประจุ เมื่อไฟฟ้าเต็มแบตเตอรี่และประจุต่อเมื่อไฟฟ้าในแบตเ ตอรี่ไม่เต็มหรือพร่องลง

ไดชาร์จ = อุปกรณ์ผลิตกระแสไฟฟ้า เมื่อถูกหมุนด้วยเครื่องยนต์/ผลิตไฟฟ้าเมื่อถูกหมุน
ไดสตาร์ท = อุปกรณ์ไปรับกระแสไฟฟ้าเข้าไปเพื่อสตาร์ทหมุนเครื่อง ยนต์แล้ว ก็หมดหน้าที่/รับกระแสไฟฟ้า เพื่อหมุนตัวเองและเครื่องยนต์

หากงงให้เปรียบเทียบดังนี้

บ้านที่มีการใช้น้ำ = รถยนต์-เครื่องยนต์ที่มีการใช้ไฟฟ้า
ปั๊มน้ำ = ไดชาร์จซึ่งทำหน้าที่ประจุไฟฟ้าโดยมีการแปรผันตามรอบ เครื่องยนต์ด้วยรอบต่ำ หรือจอดเดินเบาก็ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ไม่เต็มที่จนกว่าจ ะถึงรอบปานกลางขึ้นไป
ถังน้ำสำรอง = แบตเตอรี่ เมื่อปั๊มยังไม่ทำงานหรือทำงานแต่ไม่เพียงพอ (ไดชาร์จหมุนช้า หรือใช้ไฟฟ้ามาก ๆ เช่นตอนกลางคืน เปิดแอร์ ไฟหน้า เครื่องเสียงชุดใหญ่และที่ปัดน้ำฝน) เริ่มต้นด้วยการจ่ายน้ำเข้าสู่บ้าน (เครื่องยนต์ถูกสตาร์ทด้วยไดสตาร์ท) จากถังน้ำสำรอง (แบตเตอรี่) โดยปั๊มน้ำ (ไดชาร์จ) ยังไม่ทำงาน เมื่อเข้าสู่ระบบปกติ (เครื่องยนต์ทำงานแล้ว)
ปั๊มน้ำ (ไดชาร์จ) ก็ทำงานคอยส่งน้ำเข้าบ้าน พร้อมกับเสริมกลับเข้าสู่ถังน้ำสำรองที่พร่องลง ซึ่งก็แล้วแต่ว่าในตอนนั้นมีการใช้น้ำมากหรือน้อยกว่ ากำลังการปั๊มในตอนนั้น เช่น ถ้าปั๊มน้อย (ไดชาร์จหมุนรอบต่ำ-รถยนต์จอดนิ่ง) แต่มีการใช้น้ำมากกว่าการปั๊มก็ต้องดึงน้ำมาจากถังสำ รองมาใช้ควบคู่กัน เมื่อปั๊มแรงขึ้น (ไดชาร์จหมุนเร็ว) มีน้ำที่เหลือจากใช้งานแล้ว ก็จะถูกส่งกลับเข้าไปยังถังสำรองที่พร่องลง จนกว่าจะเต็ม

ไฟเตือนบนแผงหน้าปัด
ระบบการประจุไฟฟ้าของรถยนต์ทุกคันมีไฟสัญญาณเตือนบนแ ผงหน้าปัดแสดงเป็น ไฟรูปแบตเตอรี่โดยมิได้เป็นการเตือนว่าแบตเตอรี่หมดห รือเต็ม แต่เป็นการแสดงถึง ความปกติหรือผิดปกติของระบบไดชาร์จ หากทุกอย่างปกติ เมื่อปิดกุญแจในจังหวะแรก ไฟเตือนต้องสว่างนิ่ง และเมื่อเครื่องยนต์ถูกสตาร์ท และทำงานแล้ว ไฟเตือนจะดับลงตลอดการขับ

ถ้าเครื่องยนต์ยังทำงานอยู่แล้วมีไฟเตือนสว่างขึ้น แสดงว่าระบบการประจุไฟฟ้าบกพร่อง โดยแบ่งเป็น 2 กรณี คือ ไดชาร์จ (หรือระบบการประจุไฟฟ้าเสีย) หรือสายพานไดชาร์จขาด โดยต้องรีบจอดรถยนต์ในที่ปลอดภัยเพื่อลงมาเปิดฝากระโ ปรงตรวจดูสายพานเป็นอย่างแรก ถ้าสายพานไม่ขาด แสดงว่าระบบไดชาร์จเสีย แต่ยังมีไฟฟ้าสำรองในแบตเตอรี่อยู่ สามารถขับต่อไปได้ในช่วงสั้น ๆ ประมาณกว่า 5 กิโลเมตร และนี่ก็คือการดึงไฟฟ้าจากแบตเตอรี่มาใช้อย่างเดียวไ ม่มีการประจุไฟฟ้ากลับเข้าไป จึงควรปิดอุปกรณ์ที่ต้องใช้ไฟฟ้าลงทั้งหมด เช่น แอร์ เครื่องเสียง ฯลฯ เพื่อให้มีการ ดึงไฟฟ้าออกจากแบตเตอรี่ช้าและน้อย ทำให้รถยนต์ยังแล่นต่อไปได้ระยะทางมากที่สุด ถ้าการจราจรไม่ติดขัดมาก และแบตเตอรี่ลูกใหญ่พอสมควร ส่วนใหญ่ไปได้เกิน 10 กิโลเมตร เพื่อนำรถยนต์ไปซ่อมแซมระบบไดชาร์จ

ถ้าสายพานขาด เดาได้ว่าระบบการประจุไฟฟ้าไม่เสีย แต่เมื่อไดชาร์จไม่มีการหมุน เพราะสายพานขาดจึงไม่มีผลิตกระแสไฟฟ้า ต้องดูให้ละเอียดลงไปอีกว่า สายพานเส้นที่ขาดนั้น เกี่ยวข้องกับระบบสำคัญของเครื่องยนต์หรือไม่ ถ้าสายพานเส้นที่ขาด ขับคอมเพรเซอร์แอร์ หรือปั๊มของระบบพวงมาลัยเพาเวอร์ด้วย ก็ยังทนขับแบบร้อน ๆ หรือพวงมาลัยหนัก ๆ ได้อีกหลายกิโลเมตร คล้ายกับกรณีสายไฟฟ้าบกพร่อง

ทำไมแบตเตอรี่หมด
ถ้าไดชาร์จปกติแบตเตอรี่ไม่เสื่อม แล้วไม่มีการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าเพิ่มเติมจนกินกระแส ไฟฟ้ามากเกินไปแบตเตอรี่จะไม่มีการหมด นอกจากในเครื่องยนต์รอบเดินเบา ไดชาร์จ ผลิตไฟฟ้าได้น้อยกว่าการใช้อยู่มาก และจอดนิ่งนานหลายชั่วโมง แบตเตอรี่อาจหมดได้ ซึ่งไม่ค่อยพบปัญหานี้ในการใช้งานบนสภาพจราจรปกติ เพราะในการใช้รถยนต์ เมื่อมีการใช้ไฟฟ้าจากสารพัดอุปกรณ์ เช่น เครื่องยนต์แอร์ เครื่องเสียง ไฟฟ้าส่องสว่าง ฯลฯ ก็จะมีไดชาร์จคอยส่งไฟฟ้าที่เหลือจากการใช้เพิ่มกลับ เข้าไปสู่แบตเตอรี่อยู่ตลอด

หากแบตเตอรี่หมดสภาพแล้วต้องเปลี่ยนใหม่ แล้วมีช่องพอสำหรับแบตเตอรี่ใหญ่และแบตเตอรี่ลูกเดิม มีแอมป์ไม่สูงนักก็ควรเปลี่ยนลูกใหญ่-แอมป์สูงขึ้น (เสมือนมีถังน้ำสำรองใหญ่ขึ้น) เพราะ 4 เหตุผล คือ
1. ราคาแพงขึ้นไม่กี่ร้อยบาท
2. มีกำลังไฟฟ้าสำรองมากขึ้น
3. มีกำลังไฟฟ้าแรงขึ้น
4. ไม่ได้ทำให้ไดชาร์จทำงานหนักขึ้นหรือพังเร็ว
สรุปคือ มีแต่บวกไม่มีลบเลย นอกจากเสียเงินเพิ่มไม่กี่ร้อยบาท

อายุการใช้งานแบตเตอรี่ 1.5 - 3 ปี
บตเตอรี่ทั่วไปมีอายุการใช้งานประมาณ 1.5 - 3 ปี เท่านั้น โดยดูได้จากตัวเลขที่ตอกลง บนตัวแบตเตอรี่ ซึ่งส่วนใหญ่ร้านค้าจะมีการตอกเอง โดยปกติ เมื่อเกิน 1.5 - 2 ปี ก็ถือว่า คุ้มค่าแล้วสำหรับแบตเตอรี่ทั่วไปที่ผลิตในประเทศและ จำหน่ายในราคาลูกละ 1,000 กว่าบาท

เมื่อเกินอายุ 2 - 2.5 ปี ถ้ากังวลให้ถือโอกาสเปลี่ยนก่อนก็ไม่สิ้นเปลืองมากนั ก แบตเตอรี่-แอมป์สูง มักมีขนาดใหญ่ขึ้น จึงควรคำนึงถึงขนาดของฐานที่จะวางลงไป เมื่อแบตเตอรี่ลูกใหญ่-แอมป์สูงขึ้น ไม่จำเป็นต้องยุ่งยากถึงกับดัดแปลงฐานที่จะวาง หากไม่ต้องการแบตเตอรี่ลูกใหญ่-แอมป์สูงมากจริง ๆ เลือกขนาดเท่าที่พอจะวางได้ก็พอ

ชนิดของแบตเตอรี่
มี 2 ชนิดหลัก คือ แบตเตอรี่แบบเปียกและแบบแห้ง
แบบเปียก (ใช้กันส่วนใหญ่) แบ่งเป็น 2 แบบย่อย คือ ต้องเติมและดูแลน้ำกลั่นบ่อย (อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง) และแบบดูแลไม่บ่อย (MAINTAINANCE FREE) กินน้ำกลั่นน้อยมาก โดยทั้ง 2 แบบจะมีฝาปิดเปิดสำหรับเติมน้ำกลั่น มีอายุการใช้งาน ประมาณ 1.5 - 3 ปี
แบบแห้ง ทนทาน ราคาแพง ไม่ต้องเติมน้ำกลั่น มีอายุการใช้งานมากกว่าแบบเปียก ประมาณ 3 - 6 เท่าหรือประมาณ 5 - 10 ปี

ขี้เกลือขั้วแบตเตอรี่
อาจมีการขึ้นขี้เกลือ ซึ่งช้ามาก และทำให้การส่งกระแสไฟฟ้าด้อยลง การทำความสะอาดที่ดี ต้องถอดขั้วออกและทำความสะอาดทั้งขั้วบนแบตเตอรี่และ ขั้วบนสายไฟฟ้า พร้อมเคลือบด้วยจาระบีหรือน้ำมันเครื่อง ถ้าไม่มีความรู้เชิงกลไก ใช้น้ำอุ่นราดผ่านก็เพียงพอในระดับหนึ่ง

ตรวจน้ำกลั่นทุกสัปดาห์
ควรตรวจระดับน้ำกลั่นในแบตเตอรี่ทุกสัปดาห์ ควรเติมให้ได้ระดับ โดยถ้าแบตเตอรี่ มีผิวด้านข้างใส ก็ส่องดูได้ แต่ถ้าผิวทึบหรือเล็งด้านข้างไม่สะดวก เติมน้ำกลั่นให้ท่วม แถบแผ่นธาตุไว้ประมาณ 1 เซนติเมตร อย่าใช้น้ำกรองหรือใช้น้ำที่ไม่ใช่น้ำกลั่นเติม แบตเตอรี่เพราะจะทำให้แบตเตอรี่มีอายุการใช้งานสั้นลง

แบตเตอรี่รถยนต์ไม่แพง เสียยาก ดูแลง่าย แต่อย่ามองข้ามเพราะเป็นพลังไฟฟ้าสำรองในรถยนต์ทุกคัน

 
     
 
 อ่าน[9040]        
 
     
   บทความเกี่ยวกับ รถยนต์ อื่นๆที่น่าสนใจ  
 
 
  หัวเรื่อง อ่าน
กฎจราจรที่คนไทยละเลย 12174
ค้ำโช๊คคือะไร? มีประโยชน์อย่างไร 14267
คนเข้าใจรถ หรือ รถเข้าใจคน 6303
ใช้หัวเชื้อน้ำมันเครื่องดีหรือไม่ 9410
การขับรถเกียร์ออโต้ 57664
ไฟตอนกลางคืนกับแว่นกันแดด 8334
มาตรวัดแบบต่างๆ 10353
การถ่ายน้ำมันเกียร์อัตโนมัติ 11090
สีของป้ายทะเบียนรถในประเทศไทย 8902
วิธีใช้เกียร์ AUTO อย่างปลอดภัย 12797
 
ดูรายการทั้งหมด รถมือสอง รถบ้าน 
 
     
     
 

ติดต่อเรา

บริษัท พิธานพาณิชย์ จำกัด

438,438/1-2 หมู่ 1 ตำบลปากคลองบางปลากด

อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ 10290

คลิกเพื่อดูแผนที่ใน google map

โทร : 02-021-2288 ต่อ 1

อีเมล : usedcar@phithan-usedcar.com

ธุรกิจในเครือบริษัท

ฝาก - ขาย shop 2 fun by รักเมืองไทย

จำหน่ายสินค้าเกรดพรีเมี่ยม แบรนด์ Trumq

ผู้แทนจำหน่ายรถยนต์โตโยต้า

จำหน่ายอะไหล่แท้รถยนต์โตโยต้าทุกรุ่น

สนามแบด ทรัมแบดมินตัน

ทรัมแท็กซี่ แท็กซี่ให้เช่า

บริการให้เช่ารถยนต์ รายวัน รายเดือน

ธุรกิจอื่น ๆ ในเครือบริษัท

สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2567 บริษัท พิธานพาณิชย์ จำกัด