ตัดป้ายทะเบียน ใส่กรอบกว้างผิดไหม ? | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ตัดป้ายทะเบียน ใส่กรอบกว้างผิดไหม ?การนำป้ายทะเบียนจริงของกรมการขนส่งทางบก ที่มีตัวย่อ ขส มุมล่าง ตัดให้เตี้ยแล้วใส่กรอบยาวที่มีสีขาว 2 ริมนอก ยังโชว์ตัวย่อ ขส ชัดเจนว่าเป็นป้ายฯ จริง เป็นแฟชั่นที่ระบาดในช่วง 2-3 ปีนี้ มีทั้งรับจ้างทำ ทำแบบแนบเนียน งานหยาบ หรือขายแต่กรอบให้นำมาใส่กับป้ายทะเบียนเอง ทำกันเกร่อ บางคนรู้ว่าผิดกฎหมาย แต่อยากสวยจึงทำและลุ้นว่าจะถูกจับหรือไม่ บางคนไม่รู้ว่าผิด เพรายังมีตัวย่อ ขส อีกทั้งคนรับจ้างใส่กรอบหรือขาย ส่วนใหญ่ก็บอกว่าไม่ผิดกฎหมาย ลูกค้าจะได้ตัดสินใจเสียเงิน อ่านคำตอบโดยตรงว่า ป้ายทะเบียนตัดใส่กรอบยาว...ผิดไหม ? และทิ้งท้ายด้วยคำตอบของผ่ายประชาสัมพันธ์ จากกรมการขนส่งทางบก ป้ายทะเบียนยาว = การแก้ไขหรือการแต่งป้ายทะเบียนรถของแต่ละประเทศทั่วโลก มีความแตกต่างกัน แต่แยกได้เป็น 2 แบบหลัก คือ แบบแคบ (สั้น) เหมือนของไทย ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และแบบกว้าง (ยาว) แบบหลายประเทศในทวีปยุโรป รถหลายรุ่นหลายยี่ห้อมีการผลิตและจำหน่ายในหลายประเท ศ จึงต้องผลิตกันชนหรือฝากระโปรงให้สามารถติดป้ายทะเบี ยนให้ได้ทุกแบบ ผู้ผลิตบางรายพิถีพิถันแยกการผลิตช่องหรือหลุมติดป้า ยฯ เป็น 2 แบบ แยกกันเลยตามแต่ประเทศที่จำหน่าย ซึ่งมีความยุ่งยากและสิ้นเปลืองต้นทุนมากกว่าอีกวิธี หนึ่ง คือ ทำเป็นช่องใส่ป้ายกว้างไว้ก่อน จะขายรถในประเทศใดก็สามารถใส่ป้ายทะเบียนได้ จะเป็นป้ายทะเบียนสั้นหรือยาวก็ใส่ได้ทั้งหมด ถ้ารถที่มีช่องใส่ป้ายทะเบียนกว้าง ถูกในไปขายในประเทศที่เป็นป้ายฯ แคบ เช่นไทย ก็จะมีช่องว่าซ้าย-ขวาเหลือโล่งๆ อยู่ข้างละเกือบครึ่งคืบ เรื่องที่ไม่น่าจะเป็นปัญหาก็คือ บางคนมองว่าไม่สวย เพราะมีช่องว่างเหลืออยู่ริมซ้าย-ขวาของป้ายฯ ในขณะที่หลายคนไม่ได้มองว่าเป็นปัญหา สามารถ ติดป้ายฯ ได้แน่นหนาเป็นพอ จะมีช่องว่างเหลือก็ไม่เห็นเป็นอะไร ปัญหาสำหรับคนรักสวยรักงามกับช่องว่างที่เหลืออยู่ริ มซ้าย-ขวาของป้ายฯ มีความพยายามแก้ไขกันมาหลายรูปแบบ บางคนใจกล้าทำป้ายทะเบียนแบบกว้าง (ยาว) ขึ้นใหม่ คล้ายของทวีปยุโรป พอดีกับขนาดของช่องที่ตัวรถ ใช้แทนโดยตั้งใจไม่ติดป้ายฯ ของทางราชการ ยอมโดนปรับหรือติดสินบนเมื่อถูกจับ ข้อหาไม่ติดป้ายทะเบียนของราชการ (ไม่ใช่ข้อหาป้ายฯ ปลอม เพราะไม่ได้ทำเลียนแบบและมีตราของทางราชการ) แต่ก็มีคนกล้าทำไม่มาก เพราะสวยก็จริง แต่พร้อมถูกจับกุมได้ทุกเมื่อ ใช้รถอย่างไม่มีความสุข แม้จะปรับหรือติดสินบนไม่แพง แต่น่าเบื่อถ้าโดนจับบ่อยๆ ในเมื่อกฎหมายไทยระบุให้รถต้องติดป้ายทะเบียนของทางราชการที่มีตัวย่อ ขส อยู่มุมล่าง (ขส = กรมการขนส่งทางบก) แต่มีความต้องการใช้ป้ายทะเบียนกว้าง จึงมีคนคิดดัดแปลงให้ป้ายฯ ขส ให้กลายเป็นป้ายฯ กว้าง และยังแสดงตัวย่อ ขส ไว้อย่างชัดเจน โดยทำกรอบป้ายพลาสติกอะครีลิก กว้างเท่ากับช่องกว้างที่ตัวรถ ที่ผิวด้านริมซ้าย-ขวาจะพ่นหรือติดสติกเกอร์สีขาวมุกแบบป้ายฯ แล้วเว้นช่องกลางให้ใส เพื่อใส่ป้ายฯ ขส จากด้านหลัง แล้วปิดด้านหลังและซีลกันน้ำเข้า ผลออกมาจึงมองดูคล้ายว่าเป็นป้ายทะเบียนกว้างทั้งแผ่ น แต่ก็ได้แค่คล้าย เพราะสีขาวมุกของป้ายและกรอบ มักไม่กลืนกัน ทั้งกรณีที่สีขาวมุกคนละเบอร์กัน สีป้ายฯ เก่าขาวอมเหลืองแต่ที่กรอบขาวใหม่เอี่ยม หรือสีคล้ายกัน แต่ก็อยู่คนละชั้นกัน สีขาวบนกรอบอยู่ผิวนอก แต่สีขาวบนป้ายฯ อยู่หลังพลาสติกใส ลึกลงไป 3-5 มิลลิเมตร แม้ไม่ได้สวยมากแบบการทำป้ายฯ กว้างขึ้นใหม่ทั้งอัน แต่หลายคนก็คิดว่า สบายใจที่ไม่ผิดกฎหมาย เพราะมองผ่านช่องใสของกรอบ ก็เห็นป้ายฯ ที่มีตัวย่อ ขส อย่างชัดเจน ในความเป็นจริง ถ้าจะไม่ให้ผิดกฎหมาย ต้องไม่มีการตัดป้ายทะเบียน เพราะราชการระบุขนาดไว้อย่างชัดเจนว่า ป้ายฯ ต้องมีขนาดกี่เซนติเมตรคูณกี่เซนติเมตร แต่การทำกรอบป้ายฯ กว้างส่วนใหญ่ ต้องมีการตัดป้ายฯ เดิมให้เตี้ยลง ไม่งั้นจะไม่สวย ป้ายฯ จะทั้งสูงทั้งกว้างดูเทอะทะ จึงมีการตัดขอบบน-ล่าง หรือตัดทั้งบน-ล่างพร้อมตัดย่นช่วงกลาง เพื่อให้เตี้ยลงมากๆ เมื่อทำเสร็จป้ายฯ และกรอบจะเป็นทรงเตี้ยแต่กว้าง ดูสวยงาม และยังมีตัวย่อ ขส อยู่มุมล่าง ในขณะที่ชื่อจังหวัดที่มีสระอุ ตัวสระอุจะมองไม่เห็นหรือหายเป็น กลายเป็นกรงเทพมหานคร ไม่ใช่กรุงเทพมหานคร การทำกรอบป้ายทะเบียนกว้าง แท้จริงจึงเป็นการแก้ไขที่ช่องบนตัวรถกว้างเกินไป ไม่ใช่การตกแต่งรถแต่อย่างไร รถรุ่นใดเป็นช่องแคบพอดีกับป้ายฯ ก็ไม่ต้องเสียใจที่ไม่ได้ใส่กรอบป้ายฯ กว้างใครอยากทำแบบต้องมีการตัดป้ายฯ ก็ต้องยอมรับเมื่อถูกจับ และก่อนจะทำก็ลองดูให้แน่ใจว่า จริงๆ แล้วสีขาวของป้ายฯ กับกรอบนั้นกลมกลืนกันจริงหรือไม่ ไม่ใช่คนละขาวกัน แทนที่จะสวยกลับดูกระดำกระด่าง สรุป ตัดป้ายฯ = ผิดกฎหมายหลายคนคิดว่าไม่ผิดกฎหมาย ก็แค่ตัดป้ายฯ จริงแล้วใส่กรอบ แต่แท้จริงแล้วผิด แม้จะเหลือตัวย่อ ขส ให้เห็น เพราะมีการตัดเปลี่ยนขนาด ตำรวจสามารถจับได้ทุกเมื่อ ถ้าไม่จับ คือ อนุโลม แต่ถ้าจับก็เป็นการทำตามกฎหมายปกติ ไม่ได้กลั่นแกล้งอะไร ถ้าขึ้นศาล เจ้าของรถก็แพ้แน่ๆ หมดสิทธิ์ชนะคดี เพราะกฎหมายระบุไว้ชัดเจนถึงขนาดของป้ายทะเบียน ถ้ามีการตัดเปลี่ยนขนาด ทั้งตัดแค่ขอบบน-ล่าง หรือตัดทั้งบนล่างพร้อมหั่นช่วงกลางแยกเป็น 2 ชิ้น เพื่อย่นให้เตี้ย ล้วนผิดกฎหมาย มีบทลงโทษเป็นค่าปรับชัดเจน
สนใจรถยนต์มือสองคุณภาพดี ติดต่อได้ที่ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
บทความเกี่ยวกับ รถยนต์ อื่นๆที่น่าสนใจ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||