สมาชิก login
ชื่อ:
รหัส:
 ค้นหารถโดยใช้รหัสรถยนต์

< คลิกวิธีดูรหัส

 ค้นหารถมือสอง
ประเภท:
ยี่ห้อ:
รุ่น:
แบบ:
สี:
ปี:
ช่วง:
ราคา:

 รถมือสองทั้งหมด
รวมรถมือสอง TOYOTA TOYOTA


สารพันดูแลยางรถยนต์
     

  

1. รัน - อินต้องมีการรัน-อิน ยางใหม่ก็เช่นกันในช่วง 100 - 200 กิโลเมตรแรก ควรใช้ความเร็วไม่เกิน 80 - 100 กิโลเมตร/ชั่วโมง เพื่อให้โครงสร้างแก้มยาง และหน้ายางมีการปรับตัว เพราะยางทุกเส้น ถูกผลิตออกมาให้รับกับมุมแคมเบอร์ของล้อเท่ากับ 0 คือตั้งฉากกับพื้น แต่รถยนต์ทุกคันไม่ได้มีมุมแคมเบอร์เท่ากับ 0 มีทั้งแบะหรือหุบ ในช่วงแรกจึงต้องใช้เวลาให้หน้ายางสึกปรับตัวรับกับศ ูนย์ล้อ

  2. ถ่วงล้อยางต้องหมุนนับพันรอบต่อนาที โดยเฉพาะล้อคู่หน้าที่มีการเลี้ยงด้วยจึงต้องมีการถ่ วงสมดุล เพราะถ้าล้อคู่หน้าไมได้สมดุล มักมีอาการพวงมาลัยสั่นในบางช่วงความเร็ว และทำให้ลูกปืนล้อหรือช่วงล่างมีอายุการใช้งานสั้นลง ด้วย เมื่อเปลี่ยนยางใหม่ หรือถอดยางออกจากระทะล้อ เพื่อสลับยางหรือเปลี่ยนยาง ต้องมีการถ่วงสมดุลใหม่เสมอ เมื่อใช้งานไปสัก 40 - 50 % ของอายุการใช้งานยาง ควรถอดมาถ่วงสมดุล เพราะการสึกหรออาจไม่สม่ำเสมอกัน ถ้าใช้วิธีถอดกระทะล้อออกมาถ่วงสมดุล แล้วยังมีอาการสั่นของพวงมาลัยบางช่วงความเร็ว ต้องเปลี่ยนไปใช้วิธีถ่วงแบบจี้ คือ ไม่ต้องถอดล้อออกจากรถยนต์เป็นการถ่วงสมดุลกระทะล้อ , ยาง , จานดิสก์เบรก , เพลาขับ , ลูกปืนล้อ และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง แต่โดยทั่วไป การถอดล้ออกมาถ่วงภายนอกก็เพียงพอแล้ว



 
3. ลมยางแรงดันลมมาตรฐานของยางรถยนต์ทุกรุ่นส่วนใหญ่อยู ่ในระดับ 28 - 32 ปอนด์/ตารางนิ้ว (PSI) สำหรับรถยนต์นั่ง การวัดแรงดันลมยาง ต้องใช้มาตรฐานที่ได้มาตรฐานและวัดตอนที่ยางเย็นหรือ ร้อนไม่มาก หากละเลยการตรวจสอบลมยาง มักเกิดปัญหาแรงดันลมน้อย - ยางอ่อน ทำให้แก้มยางมีการบิดตัวมากและร้อนง่าย สิ้นเปลืองเชื้อเพลิงมากขึ้น และอัตราเร่งลดลง จากแรงต้านการหมุนที่เพิ่มขึ้น และหากลมยางอ่อนมากๆ จะทำให้โครงสร้างภายในเสื่อมสภาพเร็วขึ้น และมีการสึกหรอบริเวณนอกซ้าย - ขวา ของหน้ายางมากกว่าแนวกลาง บางคนอาจจะคิดว่า ถ้าอย่างนั้นเติมยางเกินไว้น่าจะดีกว่า จะได้ไม่ต้องตรวจสอบบ่อยๆ ซึ่งเป็นความคิดที่ผิด เพราะแรงดันลมยางที่มากเกินไปทำให้ประสิทธิภาพการเกา ะถนนลดลง จากหน้าสัมผัสที่ลดลง กระด้าง และถ้าลมยางแข็งมากๆ จะเสี่ยงต่อการระเบิด และมีการสึกหรอบริเวณแนวกลางมากกว่าริมนอกซ้าย-ขวา


     4. สลับยางทุก 10,000 กิโลเมตร ควรสลับยางพร้อมกระทะล้อหน้า - หลังในแต่ละด้าน เพื่อให้มีการสึกหรอใกล้เคียงกันทั้ง 4 เส้น เพราะยางคู่ที่ใส่กับล้อขับเคลื่อนจะมีการสึกหรอมากก ว่ายางอีกคู่หนึ่ง อย่าลืมดูทิศทางการหมุนและถ่วงล้อใหม่ด้วย แนวทางการสลับยาง และระยะทางที่เหมาะสม มักทีกำหนดในคู่มือประจำรถยนต์ ถ้าไม่สลับยางแล้วมีการสึกหรอไม่เท่ากัน หลีกเลี่ยงการเปลี่ยนยางครั้งละคู่หรือ 2 ล้อ เพราะทำให้ต้องเปลี่ยนสลับครั้งละคู่ไปเรื่อยๆเสียเว ลาและไม่ถูกต้อง ในการเปลี่ยนยาง ไม่ควรใช้ยางต่างรุ่นดอกกันในแกนล้อเดียวกันเพราะประ สิทธิภาพการเกาะถนนจะแย่ลง ควรใช้ยางขนาดเดียวกันและรุ่นเดียวกันทั้ง 4 ล้อ



       5. หมั่นตรวจสอบการสึกหรอของดอกยางนอกจากตรวจสอบความลึก ของดอกยางและสลับตามระยะทางแล้ว ยังควรหมั่นสังเกตการสึกหรอที่ผิดปกติตลอดหน้ายาง ซึ่งมีหลายลักษณะ ถ้าหน้ายางสึกเฉพาะด้านใดด้านหนึ่ง แสดงว่าศูนย์ล้อผิดปกติ แต่ถ้ามีการสึกไม่เรียบเสมอกันตลอดหน้ายาง หรือสึกเป็นบั้งๆอาจเกิดจากระบบช่วงล่างควรรีบแก้ไข เพราะมีผลต่ออาการทรงตัวของรถด้วย

      6. หมดสภาพยางหมดอายุได้ในหลายลักษณะหลัก เช่น ดอกหมด , ไม่เกาะ , เนื้อแข็ง , โครงสร้างกระด้าง , แตกปริ , แตกลายงา , เสียงดัง หรือแก้มยางบวม เกิดขึ้นเพียงลักษณะเดียวหรือควบคู่กันก็ถือว่าหมดอา ยุ ไม่จำเป็นต้องดอกหมดแล้วยางถึงจะหมดสภาพเสมอไป เพราะความลึกของดอกยางเกี่ยวข้องกับการรีดน้ำ ฝุ่น และโคลนเป็นหลัก ส่วนประสิทธิภาพการเกาะถนนและการทรงตัว ขึ้นอยู่กับความแข็งของเนื้อยางและโครงสร้างภายใน
ยางรถยนต์ส่วนใหญ่จะเริ่มแข็งตัวขึ้นทีละนิด แต่จะรู้สึกได้ชัดเจนเมื่อผ่านการใช้งานไประยะหนึ่ง (ประมาณ 1 ปีหรือ 20,000 กิโลเมตร) ตามพื้นฐานของผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับยางที่แพ้ความร้อน เมื่อเนื้อยางแข็ง ดอกยางก็ไม่ค่อยสึก แต่แรงเสียดทานระหว่างหน้ายางกับผิวถนนจะลดลง หากเปรียบเทียบอัตราการสึกของดอกยางต่อระยะทาง แทบไม่มียางรุ่นไหนที่ดอกสึกเร็วขึ้นเมื่อผ่านการใช้ งานไปแล้ว ส่วนใหญ่มักจะสึกช้าลงหรือแทบไม่สึกเลยเมื่อเนื้อยาง แข็งกระด้างเต็มที่
ทดสอบง่ายๆโดยใช้เล็บจิกลงบนเนื้อของหน้ายางเก่า เปรียบเทียบกับยางใหม่ๆเนื้อยางเก่ามักแทบจิกไม่ลง อายุการใช้งานของยางสำหรับเมืองไทย เฉลี่ยประมาณ 3 ปี หรือ 50,000 - 60,000 กิโลเมตร ก็ถือว่ายางเสื่อมสภาพแล้ว แต่ก็ขึ้นอยู่กับการดูแลรักษาและลักษณะการใช้งาน ถ้าใช้งานเกินระยะทางข้างต้น ควรพิจารณาอย่างละเอียดว่าสภาพของยางดีหรือไม่ เพราะพบว่ายางรถยนต์หลายรุ่นสามารถใช้งานได้นานกว่าน ั้น ควรหลีกเลี่ยงยางเก่าเก็บ เพราะจะทำให้ระยะเวลาในการใช้ยางสั้นลงไปอีก



ข้อควรระวัง 
  1. ไม่จอดทิ้งไว้นาน รถยนต์ที่ใช้งานน้อย จอดนิ่งอยู่กับที่น้ำหนักของตัวรถทั้งหมดจะกดลงสู่ยา งแต่ละเส้นในจุดเดียว โครงสร้างภายในและแก้มยางจะมีการยืดตัวและเสียความหย ืดหยุ่น ยิ่งจอดนิ่งนานๆโครงสร้างของยางยิ่งมีโอกาสเสียง่ายข ึ้น ถ้าต้องจอดนานมากทุก 1 สัปดาห์ต้องสตาร์ทเครื่องและนำรถออกไปแล่นอย่างน้อย 2 - 3 กิโลเมตร หรือเดินหน้าถอยหลัง 5 - 10 เมตรหลายๆครั้ง เพื่อให้แก้มยางและโครงสร้างของยางมีการขยับตัว


  2. น้ำยาเคลือบ เป็นเรื่องปกติที่คนไทยที่รักสวยรักงาม น้ำยาเคลือบแก้มยางเพื่อเพิ่มความสวยงาม น้ำยาบางชนิดมีฤทธิ์ต่อเนื้อยาง ทำให้บวมหรือเปื่อยในระยะยาว ควรเป็นสารประเภทซิลิโคนจะปลอดภัยกว่า

 

เครดิต http://www.hondaloverclub.com/forums/showthread.php?t=6897

ขอบคุณภาพ tlcthai.com

 

 

 

 
     
 
 อ่าน[14668]
 
     
   บทความเกี่ยวกับ รถยนต์ อื่นๆที่น่าสนใจ  
 
 
  หัวเรื่อง อ่าน
10 สัญญาณเตือนภัยของรถคุณ 11078
ข้อพึงระวังในการล้างอัดฉีด 9377
ไฟซีนอน 15011
การเลือกซื้อรถมือสอง 26658
การเลือกใช้ยางให้เหมาะสมกับรถ 9136
ทำไม ? แบตเตอรี่มีอายุการใช้งานสั้นลง 8294
15 วิธีโจรกรรมรถ 8818
ยางกันโคลนคืออะไร ? 8501
เข็มขัดนิรภัยในรถยนต์ 8228
เข็มขัดนิรภัยในรถยนต์ 15949
 
ดูรายการทั้งหมด รถมือสอง รถบ้าน 
 
     
รถยนต์โตโยต้า สินค้าทรัม สินค้าพรีเมี่ยม อะไหล่โตโยต้า ทรัมแบดมินตัน สนามแบดมินตัน รามอินทรา 31 ทรัม แท็กซี่ รถแท็กซี่ให้เช่า สินค้ามือสอง ของมือสอง รับฝากขายของมือสอง shop 2 fun ธรรมะ รักเมืองไทย
 

ติดต่อเรา

บริษัท พิธานพาณิชย์ จำกัด

438,438/1-2 หมู่ 1 ตำบลปากคลองบางปลากด

อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ 10290

คลิกเพื่อดูแผนที่ใน google map

โทร : 02-021-2288 ต่อ 1

อีเมล : usedcar@phithan-usedcar.com

ธุรกิจในเครือบริษัท

ฝาก - ขาย shop 2 fun by รักเมืองไทย

จำหน่ายสินค้าเกรดพรีเมี่ยม แบรนด์ Trumq

ผู้แทนจำหน่ายรถยนต์โตโยต้า

จำหน่ายอะไหล่แท้รถยนต์โตโยต้าทุกรุ่น

สนามแบด ทรัมแบดมินตัน

ทรัมแท็กซี่ แท็กซี่ให้เช่า

บริการให้เช่ารถยนต์ รายวัน รายเดือน

ธุรกิจอื่น ๆ ในเครือบริษัท

สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2567 บริษัท พิธานพาณิชย์ จำกัด